กระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
เพื่อควบคุมอันตรายจากไฟฟ้าตั้งแต่อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ การเดินสาย การป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด สายดิน สายล่อฟ้า ตลอดจนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้
ใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปทุกประเภท
สาระสำคัญของกฎหมาย
- สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องไม่ชำรุด
- การปฏิบัติงานใกล้สิ่งที่มีไฟฟ้าต้องรักษาระยะห่างตามที่กำหนดเว้นแต่ ใส่เครื่องป้องกัน , มีฉนวนหุ้ม , มีเทคนิคการปฏิบัติงาน
- ชนิดของสายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นไปตามมาตรฐาน
- มีเครื่องตัดกระแสติดตั้งไว้ ณ จุดที่มีการเปลี่ยนขนาดสายและระหว่างเครื่องวัดไฟฟ้ากับสายภายในอาคาร
- อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้สายเคเบิ้ลอ่อนและสายอ่อนต้องไม่มีรอยต่อหรือต่อแยก
- มีการติดตั้งเต้าเสียบเพียงพอต่อการใช้งาน
- การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีแรงดัน 600 โวลท์ขึ้นไป ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
- สวิตซ์ทุกตัวบนแผงสวิตซ์ต้องเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสะดวกในการปลด และสับ แผงสวิตซ์มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนแรงปลดและสับได้
- อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเปลือกเป็นโลหะ ต้องต่อสายดิน
- มีการป้องกันฟ้าผ่าของปล่องควัน
- การจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่มีแรงดันมากกว่า 50 โวลท์ ขึ้นไปให้ลูกค้า
กฎหมายของกรมสวัสดิการและแรงงานกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้าของโรงงาน และจัดส่งรายงานให้กรมแรงงานจังหวัด ปีละ 1 ครั้ง การต่อใบอนุญาตประกอบธุรกิจในขุตอุตสาหกรรม (นิคมอุตสาหกรรม) เป็น กว. อุตสาหการ/ไฟฟ้า/เครื่องกล ทำทุก5ปี